วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

เเนะนำ

หนังตะลุง

หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด
หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิงที่ต้องจัดหามาในราคาที่ "แพงและยุ่งยากกว่า" เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุงมาแสดง เจ้าภาพต้องจัดทำโรงหนังเตรียมไว้ให้ และเพราะหนังตะลุงต้องใช้แรงงานคน (และฝีมือ) มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ค่าจ้างต่อคืนจึงแพงกว่า ยุคที่การฉายภาพยนตร์เฟื่องฟู หนังตะลุงและการแสดงท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มโนราห์ รองแง็ง ฯลฯ ก็ซบเซาลง ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกบ้านมีโทรทัศน์ดู ละครโทรทัศน์จึงเป็นความบันเทิงราคาถูกและสะดวกสบาย ที่มาแย่งความสนใจไปจากศิลปะพื้นบ้านเสียเกือบหมด
ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป

ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง[แก้]

นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงาจำพวกหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายมาทั้งในแถบประเทศยุโรป และเอเชีย โดยอ้างว่า มีหลักฐานปรากฏอยู่ว่า เมื่อครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีชัยชนะเหนืออียิปต์ ได้จัดให้มีการแสดงหนัง (หรือการละเล่นที่คล้ายกัน) เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะและประกาศเกียรติคุณของพระองค์ และเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงานี้มีแพร่หลายในประเทศอียิปต์มาแต่ก่อนพุทธกาล ในประเทศอินเดีย พวกพราหมณ์แสดงหนังที่เรียกกันว่า ฉายานาฏกะ เรื่องมหากาพย์รามายณะ เพื่อบูชาเทพเจ้าและสดุดีวีรบุรุษ ส่วนในประเทศจีน มีการแสดงหนังสดุดีคุณธรรมความดีของสนมเอกแห่งจักรพรรดิ์ยวนตี่ (พ.ศ. 411 - 495) เมื่อพระนางวายชนม์
ในสมัยต่อมา การแสดงหนังได้แพร่หลายเข้าสู่ในเอเชียอาคเนย์ เขมร พม่า ชวา มาเลเซีย และประเทศไทย คาดกันว่า หนังใหญ่คงเกิดขึ้นก่อนหนังตะลุง และประเทศแถบนี้คงจะได้แบบมาจากอินเดีย เพราะยังมีอิทธิพลของพราหมณ์หลงเหลืออยู่มาก เรายังเคารพนับถือฤๅษี พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ยิ่งเรื่องรามเกียรติ์ ยิ่งถือว่าเป็นเรื่องขลังและศักดิ์สิทธิ์ หนังใหญ่จึงแสดงเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์ เริ่มแรกคงไม่มีจอ คนเชิดหนังใหญ่จึงแสดงท่าทางประกอบการเชิดไปด้วย
เชื่อกันว่าหนังใหญ่มีอยู่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะมีหลักฐานอ้างอิงว่า มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งเป็นชาวเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์และทางกวี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเรียกตัวเข้ากรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหาราชครูหรือพระโหราธิบดี และมีรับสั่งให้พระมหาราชครูฟื้นฟูการเล่นหนัง (หนังใหญ่) อันเป็นของเก่าแก่ขึ้นใหม่ ดังปรากฏในสมุทรโฆษคำฉันท์ว่า

ประวัติความเป็นมาของเรือกอและ

ประวัติ / ความเป็นมา          เรือกอและ ภาษาพื้นเมืองเรียก เรือโยกอง เป็นเรือประมงหาปลาของชาวประมงภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะ จังหวัดนราธิวาส ทั้งได้ใช้เรือนี้เป็นเรือแข่งขันมาแต่โบราณ และได้หยุดไป จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 จังหวัดนราธิวาสจึงได้ฟื้นฟูประเพณีแข่งเรือกอและขึ้นใหม่อีกครั้ง
การ แข่งเรือกอและเมื่อ พ.ศ. 2518 นั้น ประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาสพร้อมใจกันจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินยังจังหวัดนราธิวาส เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจทั่วจังหวัดภาคใต้
                                  

ครั้งนั้น ได้จัดแข่งหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณปากแม่น้ำบางนรา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เรือกอและลำชนะเลิศได้ครองถ้วยพระราชทานประจำปีนั้น ได้แก่ เรือ สิงห์ภักดี ของกลุ่มชาวประมงบาเละฮิเล จังหวัดนราธิวาส
          จากนั้นได้จัดต่อเนื่องเป็นประเพณีทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เรือชนะเลิศแต่ละ ได้แก่
          ปี พ.ศ. 2519 ชนะเลิศ ได้แก่ เรือ นาคราช กลุ่มอำเภอสุไหง-ลก จังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2520 ไม่มีการแข่งขัน เพราะมีพระราชพิธีสมโภชช้างสำคัญ
          ปี พ.ศ. 2521-2522 ได้แก่ เรือนาคราช กลุ่มอำเอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2523 ได้แก่ เรือ “กระทิงรือเสาะ” อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2524 ได้แก่ เรือสิงห์ปรีดา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
          ปี พ.ศ. 2525 งดการแข่งขัน เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้เสด็จแปรพระราชฐาน ประทับแรมยังจังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2526 เรือชนะเลิศ ได้แก่ เรือสิงห์ตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
          ปี พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถเสด็จแปรพระราชฐาน ประทับแรม ณ ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์อีกครั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายธวัชชัย สมสมาน จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ วันที่ 25 กันยายนของทุกปี เป็นวันประเพณีแข่งขันเรือกอและ
กำหนดงาน          วันที่ 25 กันยายน ทุกปี (จัดคู่กับงานประเพณีของดีเมืองนราและแข่งเรือกอและ ระหว่างวันที่ 21-25 กันยายน) สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่  www.tat.or.th/festival
                                   

กิจกรรม
          มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
จัดให้มีการแข่งเรือกอและในแม่น้ำบางนรา มีการแข่งขันเรือยาว ซึ่งจัดเพิ่มเติมขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2521
มี การจัดขบวนแห่ถ้วยพระราชทานไปตามถนนสายต่างๆ ในตัวเมืองนราธิวาส จัดขบวนแห่ เรือในแม่น้ำบางนรา กิจกรรมแปรอักษรของนักเรียนโรงเรียนนราธิวาส การแข่งขันกีฬาทางน้ำ มวยทะเล แข่งจับเป็ดในน้ำ ขบวนเรือบายศรี และการแสดง การสาธิตอื่นๆ อีกมาก
กติกาของการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย มีข้อกำหนดที่สำคัญ คือ ต้องเป็นเรือกอและตามประเพณีท้องถิ่น มีส่วนประกอบสำคัญถูกต้องตามข้อกำหนด ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ และฝ่ายตรวจสอบสภาพเรือรวมฝีพาย กำหนดระยะทางการแข่งขัน 650 เมตา จำนวนฝีพายรวมนายท้ายเรือไม่เกิน 23 คน ฝีพายสำรองไม่เกิน 5 คน ต่อลำ
เรือลำใดเข้าสู่เส้นชัยก่อน ถือเป็นชนะในเที่ยวนั้น หากละเมิดกติกาการแข่งปรับแพ้ได้
การ แข่งเรือกอและ มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา โทนขนาดเล็กและใหญ่ (ตัวผู้ – ตัวเมีย) รวม 2 ใบ ฆ้องใหญ่ 1 ใบ บรรเลงเหมือนการแข่งขัน
สิละ

นับ ได้ว่า การแข่งขันเรือกอและ เป็นประเพณีซึ่งสร้างความสามัคคีระหว่างหมู่คณะ เป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ของท้องถิ่น ให้คนทั่วไปได้รู้เห็นชื่นชม ช่วยสืบทอดงานช่างท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไป รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจากการท่องเที่ยวด้วย
ลักษณะของ เรือกอและเรือกอและ ปัจจุบันเป็นเรือกอและชนิดหัวยาว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบดั้งเดิมไปบ้างนิยมติดท้ายด้วยเครื่องยนต์เรือ หางยาวแทนใบเรือ เช่นที่ใช้ในอดีต แต่เรือกอและที่เข้าแข่งขัน จะต้องสร้างตามแบบประเพณีท้องถิ่น คือ

          1. ต้องต่อเรือด้วยกระดานเป็นแผ่นๆ ไม่มีลักษณะเรือขุด
          2. ต้องมีกระดูกงู
          3. ต้องมีกง
          4. หัวเรือจะสั้นหรือยาวก็ได้ แต่ต้องมีลักษณะของหัวเรือกอและ

          น อกจากนี้ เรือทุกลำที่เข้าแข่งขันต้องตกแต่งด้วยการเขียนสีเป็นลวดลายขนตัวเรือตามแบบ ประเพณีนิยม มักเป็นลายสัตว์จากวรรคดี หรือตำนานพื้นบ้าน เช่น นาค หนุมาน สิงห์ สมัยโบราณ ลำเรือมีความยาว วัดได้ 20-25 ศอก (1 ศอกเท่ากับ 1 ฟุต โดยประมาณ) นิยมสร้างจากไม้ตะเคียนและไม้ลำพู เรือกอและหัวปาด หรือเรือโยกอง ปัจจุบันสาบสูญหมดแล้ว เรือกอและลำแพกไม่มีสีสันลวดลายสันนิษฐานว่า เริ่มมีขึ้นมาจากชาวประมงในเขต “กำปงตะลูแบ” ปัจจุบัน คือ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ด้วย เหตุที่การประมงทางชายฝั่งภาคใต้ซบเซาลง ประกอบกับไม้ซึ่งจะมาทำเรือหายากขึ้นทำให้จำนวนเรือกอและลดน้อยลงเรื่อยๆ ช่างผู้ชำนาญงานสร้าง งานประดิษฐ์ลวดลายก็ลดจำนวนลงด้วย แต่ยังคงอนุรักษ์แบบของศิลปะโบราณของชาวมุสลิมไว้ได้ ในรูปของงานหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยการสร้างรูปเรือกอและจำลองเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งจำหน่ายเป็นของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป / พิธี



หนังตะลุง

หนังตะลุง

หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด
หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิงที่ต้องจัดหามาในราคาที่ "แพงและยุ่งยากกว่า" เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุงมาแสดง เจ้าภาพต้องจัดทำโรงหนังเตรียมไว้ให้ และเพราะหนังตะลุงต้องใช้แรงงานคน (และฝีมือ) มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ค่าจ้างต่อคืนจึงแพงกว่า ยุคที่การฉายภาพยนตร์เฟื่องฟู หนังตะลุงและการแสดงท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มโนราห์ รองแง็ง ฯลฯ ก็ซบเซาลง ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกบ้านมีโทรทัศน์ดู ละครโทรทัศน์จึงเป็นความบันเทิงราคาถูกและสะดวกสบาย ที่มาแย่งความสนใจไปจากศิลปะพื้นบ้านเสียเกือบหมด
ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป

ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง[แก้]

นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงาจำพวกหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายมาทั้งในแถบประเทศยุโรป และเอเชีย โดยอ้างว่า มีหลักฐานปรากฏอยู่ว่า เมื่อครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีชัยชนะเหนืออียิปต์ ได้จัดให้มีการแสดงหนัง (หรือการละเล่นที่คล้ายกัน) เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะและประกาศเกียรติคุณของพระองค์ และเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงานี้มีแพร่หลายในประเทศอียิปต์มาแต่ก่อนพุทธกาล ในประเทศอินเดีย พวกพราหมณ์แสดงหนังที่เรียกกันว่า ฉายานาฏกะ เรื่องมหากาพย์รามายณะ เพื่อบูชาเทพเจ้าและสดุดีวีรบุรุษ ส่วนในประเทศจีน มีการแสดงหนังสดุดีคุณธรรมความดีของสนมเอกแห่งจักรพรรดิ์ยวนตี่ (พ.ศ. 411 - 495) เมื่อพระนางวายชนม์
ในสมัยต่อมา การแสดงหนังได้แพร่หลายเข้าสู่ในเอเชียอาคเนย์ เขมร พม่า ชวา มาเลเซีย และประเทศไทย คาดกันว่า หนังใหญ่คงเกิดขึ้นก่อนหนังตะลุง และประเทศแถบนี้คงจะได้แบบมาจากอินเดีย เพราะยังมีอิทธิพลของพราหมณ์หลงเหลืออยู่มาก เรายังเคารพนับถือฤๅษี พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ยิ่งเรื่องรามเกียรติ์ ยิ่งถือว่าเป็นเรื่องขลังและศักดิ์สิทธิ์ หนังใหญ่จึงแสดงเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์ เริ่มแรกคงไม่มีจอ คนเชิดหนังใหญ่จึงแสดงท่าทางประกอบการเชิดไปด้วย
เชื่อกันว่าหนังใหญ่มีอยู่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะมีหลักฐานอ้างอิงว่า มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งเป็นชาวเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์และทางกวี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเรียกตัวเข้ากรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหาราชครูหรือพระโหราธิบดี และมีรับสั่งให้พระมหาราชครูฟื้นฟูการเล่นหนัง (หนังใหญ่) อันเป็นของเก่าแก่ขึ้นใหม่ ดังปรากฏในสมุทรโฆษคำฉันท์ว่า

เกียวกับฉัน

ประวัติส่วนตัว
ผมมีชื่อว่า นายอิรฟัน  สะมาแอ
เป็นเด็กบ้านๆ คนหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ บ้านเลขที่ 67/1 ม.5 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส รหัสไปรษณี  96130
สถานศึกษาที่ผมเคยเรียนมาก่อนน่ะครับ
ประถม จบจาก โรงเรียนบ้านโคก เเล้วหลังจากนั้น ได้เข้าเเข่งขันสอบ สอบเข้าเรียนชื่อดังเเห่งหนึงยานหอนาฬิกาใหญ่ ของนราธิวาส หลังจากผมสอบติดที่นั้นเเล้ว ผมได้ศึกษาเรียนจนจนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย เเละในเวลานั้นผม ผมยังไมม่มีที่เรียนต่อ อุดมศึกษา ทำให้ผมต้อง วิ่งไปสอบ ที่กรุงเทพบ้าง
นักศึกษาสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะ วิทยาการจัดการ
ชั้นปีที่ 3
เบอร์โทรศัพท์ 088-7969-074
อีเมล์ Farn.yru@gmail.com
Facebook issme  namosaya  irfarn

สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโยยีนครหาดใหญ่  ปีพ.ศ.2557